ประวัติปราสาทสระกำแพงน้อย อโรคยาศาล แห่งอุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ

THE STORY อุทุมพรพิสัย
0





ปราสาทหินสระกำแพงน้อย

    ตั้งอยู่ภายในวัดสระกำแพงน้อย ติดกับถนนสายอุทุมพรพิสัย-ศรีสะเกษ (หมายเลข 226) ในเขตตำบลขยุง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18

ลักษณะปราสาท

    ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นปรางค์เดี่ยวสร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ 11 เมตร ศิลปะการก่อสร้างแบบขอม ใช้เป็นเทวสถานสำหรับบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ
  1. ปราสาทประธาน
  2. วิหาร
  3. กำแพงแก้ว
  4. ซุ้มประตู
  5. สระน้ำ
ปรางค์ประธานปราสาทสระกำแพงน้อย

สระน้ำอโนดาต


    โบราณสถานแห่งนี้ เป็นอโรคยาศาล หรืออโรคยศาลา (โรงพยาบาล) หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1761) ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ตัวปรางค์ประธาน ยังค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ขาดการบูรณะ ส่วนโคปุระหรือกำแพงแก้วพังทลาย แต่ยังมีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งทับหลัง และโครงสร้างอื่น ๆ แต่ยังไม่ได้รับบูรณะและปรับแต่ง
    ในปัจจุบันน้ำในสระอโนดาตนี้ถูกใช้ในทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

    ปราสาทสระกำแพงน้อย ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับปราสาทอีกหลายแห่งในจังหวัดขุขันธ์ (ชื่อในขณะนั้น)

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)

#buttons=(ยินยอม) #days=(20)

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ ดูเพิ่มเติม
Accept !
To Top